HOLI FESTIVAL เทศกาลสาดสี


เทศกาลสาดสี ต้อนรับฤดูร้อน อินเดีย


ดินแดนชมพูทวีป อันเก่าแก่มีหลากหลายเชื้อชาติ และวัฒนาธรรม ที่นักท่องเที่ยวจะต้องไปเยือนสักครั้งในชีวิต วันนี้ เราจะพาผู้อ่านที่รักพาท่องเที่ยวไปชมภาพสวยๆ และที่มาที่ไปของ เทศกาลสาดสี หรือHoli Festival ประเทศอินเดีย ว่าทำไมถึงเทศกาลทีไร คนอินเดียต้องมาสาดสีใส่กัน มีเหตุผลอะไร ลองติดตามกันค่ะ



  เทศกาลโฮลี เป็นเทศกาลของชาวฮินดูซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี ปีละสองวันในช่วงเดือนมีนาคม เทศกาลนี้เรียกอีกอย่างว่า “เทศกาลแห่งสีสัน” โดยทุกคนจะสาดผงสีใส่กันอย่างสนุกสนาน หรืออาจจะสาดน้ำใส่กัน คล้ายๆ สงกรานต์บ้านเราเลยทีเดียว รูปแบบของการเฉลิมฉลองเทศกาลโฮลี่นี้เทียบได้กับสงกรานต์ของไทย คือมีการสาดน้ำใส่กันแต่เป็นน้ำที่ผสมสีสันต่างๆ บ้างก็ไม่ใช้น้ำ แต่ใช้ผงสีซัดใส่กันหรือป้ายหน้าป้ายตัวกันอย่างสนุกสนาน นิยมเล่นกันในเวลาเช้าถึงเที่ยงวันก็เลิก ต่างคนต่างกลับบ้านไปอาบน้ำและพักผ่อน พอตกตอนเย็นจะออกมาพบปะสังสรรค์กัน แจกขนมหวานและสวมกอดกัน เทศกาลโฮลี่จึงถือเป็นเทศกาลแห่งมิตรภาพ มิตรสหายได้แสดงไมตรีเข้าสวมกอดกัน ผู้ที่เคยขัดแย้งกันก็จะได้ปรับความเข้าใจและคืนสู่มิตรภาพนั่นเอง



ทศกาลเริ่มในช่วงต้นของฤดูใบไม้ผลิ ในธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงจากหนาว ไปเป็นอากาศร้อน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ มีผลต่อมนุษย์ต่อสุขภาพและต่อจิตใจของมนุษย์ เพราะเมื่ออากาศ เริ่มเปลี่ยนจากหนาวมาเป็นร้อน ผู้คนก็จะไม่สบายเป็นหวัดกันเพราะอากาศเป็นเหตุ โดยเบื้องหลังเทศกาลนี้มิใช่เพื่อโปรยสีกัน เพื่อสนุกสนานอย่างเดียวเท่านั้น แต่คนโบราณได้แฝงเอาธรรมชาติบำบัดโรค เอามาซ่อนไว้ในความสนุกสนานไว้ด้วย โดยใช้ผงสีจากพืชและพืชสมุนไพรธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นสีแดง สีเหลือง สีคราม สีเขียว มาโปรยใส่กันทำนองกายบำบัดเพื่อสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายด้วย สนุกและสบายตัวด้วย



การเล่นสาดสีให้เลอะเทอะจนบางทีสีติดตัวติดเสื้อผ้า ล้างและซักไม่ออกนั้นสำหรับคนอินเดียก็มีความหมายที่ลึกซึ้งค่ะ ก็คือหมายถึงความเข้มแข็งของมิตรภาพที่จะอยู่ติดตรึงไปตลอดกาล ไม่มีวันจาง เสื้อผ้าที่ใส่เล่นโฮลี่จึงนิยมผ้าสีขาวและแม้จะเลอะเทอะเปรอะเปื้อนด้วยสีต่างๆ แล้วก็จะไม่ทิ้ง 



 ในช่วงเย็นของวันแรกจะมีการจัดซุ้มกองไฟเพื่อทำพิธีบูชา โดยจัดไว้เฉพาะสำหรับผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว และมีลูกชายเท่านั้น เนื่องจากการบูชานี้ทำเพื่อสร้างสิริมงคล และปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไปจากลูกชาย และสำหรับคู่แต่งงานใหม่ที่ยังไม่มีลูก ขอจะทำพิธีบูชาขอลูกชายในเทศกาลนี้ด้วย



  และในวันที่สอง ทุกคนจะเล่นสาดสีและสาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน บ้างก็เปิดเพลงเต้นรำกันอย่างคึกคัก ด้วยความเก่าแก่ของอารยธรรมอินเดีย และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทำให้เทศกาลโฮลี ถูกเชื่อมโยงกับตำนานต่างๆ มากมาย เช่น เรื่องการเผานางโหลิกา น้องสาวของอสูรหิรัณยกศิปุ ในตำนานนารายณ์อวตารเป็นนรสิงห์, เรื่องการเล่นโฮลีอย่างสนุกสนานระหว่างพระกฤษณะกับนางโคปีทั้งหลาย เป็นต้น ดังนั้นในคืนก่อนวันโฮลีตามชุมชนหมู่บ้านต่างๆ จะรวมกลุ่มกันจัดพิธีเผานางโหลิกา เพื่อพิธีเป็นเชิงสัญลักษณ์ว่า การทำร้ายเบียดเบียนกันในสังคม ตลอดจนความชั่วร้ายต่างๆ จะถูกเผาทำลายไป ธรรมะมีชัยชนะเหนืออธรรม


คลิปจากงานเทศกาลสาดสี โดย devinsupertramp






ที่มา http://travel.truelife.com/detail/3095131
ภาพจาก http://teen.mthai.com/variety/29146.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น